รู้จักเส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียน GMS Economic Corridors (ตอนที่ 2)

ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Sub-region Cross Border Transport Agreement: GMS CBTA) จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งทั้งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างประเทศในอนุภูมิภาค GMS ประกอบด้วยพิธีสารจำนวน 20 ฉบับ มีประเด็นสำคัญดังนี้
1. การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างประเทศในกลุ่ม GMS
2. การตรวจปล่อยสินค้าในบริเวณเดียวกัน (Single Stop Inspection) และการตรวจสินค้าแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (Single Window Inspection)
3. การรวมระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน อาทิ ระบบศุลกากร ระบบตรวจคนเข้าเมือง และระบบตรวจสอบความปลอดภัยและมาตรฐานสินค้า
4. การแลกเปลี่ยนสิทธิด้านการจราจร (Exchange of Traffic Rights) โดยอนุญาตให้รถยนต์ของประเทศในกลุ่ม GMS สามารถเข้ารับส่งสินค้าของประเทศอื่นๆ ในกลุ่มได้ ภายใต้โควตารถยนต์ที่แต่ละประเทศกำหนดไว้
5. การอำนวยความสะดวกการข้ามพรมแดนของบุคคล
ปัจจุบันประเทศสมาชิก GMS ลงนามในความตกลงดังกล่าวและให้สัตยาบันสารในพิธีสารครบทั้ง 20 ฉบับแล้ว โดยเมียนมาได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารที่ 3 เป็นฉบับสุดท้าย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 จึงมีผลทำให้ความตกลง GMS CBTA มีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ
ภายหลังจากมีการบังคับใช้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ ADB ผู้สนับสนุนหลักด้านการเงินได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการทบทวนและปรับปรุงภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลงฯ บางฉบับเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดได้มีการกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นวันเริ่มดำเนินการออกใบอนุญาตการขนส่งทางถนนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Road Transport Permit) ภายใต้ GMS CBTA
อาเซียนนับเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยมาโดยตลอด การเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเส้นทางสายเศรษฐกิจอาเซียน (GMS Economic Corridors) ซึ่งเป็นทั้งการเชื่อมโยงทางกายภาพ (Hardware Connectivity) และการเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ (Software Connectivity) จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของไทยทั้งด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพิ่มช่องทางและโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยที่ลงทุนหรือกำลังหาลู่ทางลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ตามมาด้วยการกระจายรายได้และความเจริญของจังหวัดตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ อาทิ จังหวัดตาก พิษณุโลก ขอนแก่น และมุกดาหาร
ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควรจับตามองความเคลื่อนไหวของเส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียน หรือ GMS Economic Corridors อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนบุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต
28 ตุลาคม 2559
แหล่งข้อมูล:
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
โดย:
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ (ThaiBiz)
ประเภทข่าว
แหล่งข้อมูลข่าวเศรษฐกิจ
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแคนาดา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในชิลี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเม็กซิโก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในออสเตรเลีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเมียนมาร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในบราซิล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเดนมาร์ก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอียิปต์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮังการี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในนอร์เวย์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในปากีสถาน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในศรีลังกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิหร่าน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเกาหลีใต้
- ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฟิลิปปินส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาเลเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในญี่ปุ่น
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในไต้หวัน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในยุโรป
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแอฟริกาใต้
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเซเนกัล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเนปาล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาดากัสการ์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในคูเวต
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิสราเอล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาเซียน