5 ปัจจัย ทำไมค้าปลีกไทยสดใสในเวียดนาม

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในเวียดนามระบุว่า มูลค่าการค้าปลีกของเวียดนามในช่วงต้นปี 2559 สูงขึ้นถึง 5 % นับเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 5 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดการณ์ว่าตลาดค้าปลีกเวียดนามจะมีแนวโน้มสูงถึง 179,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 ปัจจุบัน การค้าปลีกรูปแบบใหม่คิดเป็น 25% ของการค้าปลีกทั้งหมดในเวียดนาม แต่มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปเพียง 3.4% ธุรกิจค้าปลีกเวียดนามจึงกลายเป็นจุดหมายที่เย้ายวนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ แน่นอนว่ารวมถึงนักลงทุนชาวไทย
ลองมาดู 5 ปัจจัย ทำไมธุรกิจค้าปลีกจากไทยมีโอกาสที่สดใสในเวียดนาม
1. เศรษฐกิจยังพุ่งทะยานสูงขึ้น เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตสูงถึง 6.68 % สังคมเมืองยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (Urbanization) ขณะที่รัฐบาลเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นแรงหนุนให้เกิดการขยายตัวของตลาดการค้าการลงทุนในภาคธุรกิจ ซึ่งรวมถึงตลาดค้าปลีกขนาดกลาง
2. ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของเวียดนามยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ปัจจุบัน เวียดนามมีห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ประมาณ 155 แห่ง ในจำนวนนี้ 110 แห่ง เป็นการลงทุนของบริษัทผู้ค้าปลีกต่างชาติรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนตั้งแต่ปี 2552 แล้ว ตลาดค้าปลีกจึงยังพื้นที่ให้เติบโตในเวียดนาม
3. คนเวียดนามมีกำลังซื้อ รายได้ต่อหัวของชาวเวียดนามเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 10% ปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 2,108 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 74,000 บาท ชนชั้นกลางมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 60 ของประชากรเวียดนามอยู่ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นกลุ่มที่แนวโน้มจับจ่ายใช้สอยมากในตลาดค้าปลีก
อีกตัวอย่างที่สะท้อนกำลังซื้อคนเวียดนามดูได้จากสถิติการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ เมื่อปี 2558 ทางการเวียดนามจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่เฉลี่ย 8,000-20,000 คันต่อเดือน จดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลใหม่ 6,000-8,000 คันต่อเดือน คาดว่าในปี 2563 กรุงฮานอยจะมีปริมาณรถจักรยานยนต์ 7 ล้านคัน และมีรถยนต์วิ่งถึง 1 ล้านคัน
4. คนเวียดนามพร้อมจ่าย หากคุ้มราคา สะท้อนรสนิยม และใส่ใจปลอดภัย กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคเวียดนามหันมาเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ (higher value-for-money) และพร้อมจ่ายสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือยที่ตอบสนองต่อรสนิยมและคำนึงถึงความสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจำพวกความงามและสุขภาพ และสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ใช้บริการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ล่าสุด กลุ่มเซนทรัลได้เข้าไปซื้อหุ้น Zalora เพื่อบุกตลาดค้าปลีกออนไลน์ในเวียดนามแล้ว
ชาวเวียดนามใส่ใจความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้น เนื่องจากวิตกว่าอาหารสดจากโรงงานในเวียดนามอาจไม่ได้มาตรฐาน ทำให้บริษัทอาหารสดจากต่างชาติจำนวนมากเข้าไปลงทุนในเวียดนาม เพราะต้นทุนต่ำ บริษัทอาหารสดในเวียดนามหลายแห่งได้เลือกร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทต่างชาติเพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้ได้คุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
5. สินค้าไทยมีคุณภาพดีและเป็นที่นิยม พูดถึงมาตรฐานและคุณภาพ สินค้าไทยได้เปรียบในเวียดนาม เพราะมีภาพลักษณ์ที่มีคุณภาพ คุ้มราคา สินค้าอุปโภคและบริโภคของไทยเป็นที่นิยมมาก หลายยี่ห้อเข้าไปวางขายในตลาดค้าปลีกเวียดนามกว่า 20 ปี ทำให้ปัจจุบัน สินค้าไทยมีส่วนแบ่งในตลาดถึง 50 % สินค้าเหล่านี้จึงติดตลาด ถือเป็นข้อได้เปรียบสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าไปบุกตลาดค้าปลีกเวียดนาม
สำหรับที่ก่อนหน้านี้ มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เวียดนามว่า ค้าปลีกจากไทยกำลังจะเข้าไปครอบงำตลาดและวิถีชีวิตของคนเวียดนาม และเกิดกระแสต่อต้านนั้น ใครที่ตั้งใจจะเข้าไปเวียดนามอย่างเพิ่งถอดใจ อย่าลืมว่า ไม่ว่าบริษัทไทยจะไปที่ใด ควรต้องย้ำถึงการเข้าไปเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ มิใช่คู่แข่ง ให้ฝ่ายต่างชาติรวมถึงเวียดนามเห็นถึงความมุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือที่เรียกว่า Corporate Social Responsibility หรือ CSR และร่วมเคียงข้างพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ไปด้วยกัน
ผู้ประกอบการที่สนใจตลาดค้าปลีกรวมถึงสาขาธุรกิจอื่น ๆ เวียดนาม แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจาก 2 แหล่ง ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในเวียดนามที่ดำเนินงานโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ กรุงฮานอย ที่เว็บไซต์ http://hanoi.thaiembassy.org/index.aspx และหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (Vietnam Chamber of Commerce and Industry: VCCI) ที่เว็บไซต์ http://vccinews.com/ เพื่อติดตามอัพเดทข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจเวียดนาม
28 กรกฎาคม 2559
แหล่งข้อมูล:
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย,สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
โดย:
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ (ThaiBiz)
เวียดนาม, ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
ประเภทข่าว
แหล่งข้อมูลข่าวเศรษฐกิจ
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแคนาดา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในชิลี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเม็กซิโก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในออสเตรเลีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเมียนมาร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในบราซิล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเดนมาร์ก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอียิปต์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮังการี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในนอร์เวย์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในปากีสถาน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในศรีลังกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิหร่าน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเกาหลีใต้
- ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฟิลิปปินส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาเลเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในญี่ปุ่น
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในไต้หวัน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในยุโรป
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแอฟริกาใต้
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเซเนกัล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเนปาล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาดากัสการ์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในคูเวต
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิสราเอล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาเซียน