10 เหตุผล ทำไมควรไปสำรวจโอกาสธุรกิจในโปรตุเกส

มาดู 10 เหตุผลว่าทำไมธุรกิจไทยควรต้องซูมอินเพื่อเสาะหาโอกาสในตลาดโปรตุเกส

หนึ่ง ความสัมพันธ์ที่ยาวนาน โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่ติดต่อกับไทย จนถึงปีนี้ รู้จักและสานสัมพันธ์กันมา 505 ปีแล้ว
สอง ขนาดตลาดและอำนาจผู้บริโภค โปรตุเกสมีประชากรประมาณ 10 ล้านคน GDP ประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ประชาชนมีรายได้ต่อปีถึง 27,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเกือบล้านบาท นับว่า ประชาชนมีเงินในกระเป๋า หากเศรษฐกิจเข้าที สินค้าดีน่าสนใจ ก็พร้อมจ่าย
สาม อีกหนึ่งประตูสู่อียูและประเทศที่พูดโปรตุเกส นอกจากจะชูตนเองเป็นประตูสู่ประชากรอียูกว่า 500 ล้านคนแล้ว โปรตุเกสยังโฆษณาว่าเป็นประเทศยุโรปที่ใกล้สหรัฐอเมริกาและแคนาดามากที่สุดโดยทางเรือ อยู่ในลำดับที่ 15 ของโลกในด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคม และเข้าถึงประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกสที่มีประชากรกว่า 250 ล้านคน ซึ่งรวมถึงบราซิล โมซัมบิก แองโกลา
สี่ เศรษฐกิจยังไม่ซบเซาหนักเมื่อเทียบกับหลายประเทศในยุโรป โปรตุเกสมีแนวโน้มเติบโตขึ้น เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในกลุ่มยูโรโซน ในปี 2560 คาดว่าจะเติบโต 1% ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย การใช้นโยบายการคลังที่ไม่รัดเข็มขัดจนเกินไปช่วยกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐและเอกชน รวมถึงการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่นิยมไปพักผ่อนตามเมืองตากอากาศทั่วโปรตุเกส เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติไปเที่ยวโปรตุเกสทะลุ 10 ล้านคนเป็นครั้งแรก ส่งผลให้โรงแรมในโปรตุเกสมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 13% แรงงานโปรตุเกสก็มีการศึกษาและมีทักษะ ขณะที่มีค่าแรงต่ำ
ห้า อสังหาริมทรัพย์ในโปรตุเกสกำลังมีราคาถูก ภาวะเศรษฐกิจยุโรปซบเซาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของโปรตุเกสได้รับผลกระทบอย่างหนัก ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลงมากจนจัดได้ว่าถูกที่สุดในยุโรป ทั้งราคาบ้านพร้อมที่ดินและราคาพื้นที่ต่อตารางเมตร อย่างเช่น บ้านที่ราคาแพงที่สุดอยู่ที่เมือง Algarve เมืองท่องเที่ยวสำคัญทางตอนใต้ใกล้กับสเปน ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 1,287 ยูโร ต่อตารางเมตร หรือประมาณ 50,000 กว่าบาท/ตารางเมตร ส่วนที่กรุงลิสบอน ราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตร เท่ากับ 1,047 ยูโร หรือ 40,000 กว่าบาทเท่านั้น เทียบกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ นับว่าถูกมาก หากมีโอกาสและสนใจมีที่พักตากอากาศในโปรตุเกส ก็ควรรีบไปจับจอง
หก มีตัวอย่างธุรกิจไทยที่เข้าไปบุกโปรตุเกสแล้ว กลุ่มไทยยูเนียนได้เข้าไปทำธุรกิจผลิตปลากระป๋อง และกลุ่มไมเนอร์ ได้ซื้อกิจการโรงแรมกลุ่ม Trivoli ถึง 12 แห่งในโปรตุเกส
เจ็ด รัฐบาลโปรตุเกสชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ มีหน่วยงานเทียบเท่า BOI ของบ้านเราที่เรียกว่า AICEP คอยส่งเสริมการลงทุน และโปรตุเกสได้นำมาตรการ Golden Visa กลับมาใช้อีกครั้ง โดยจะออกวีซ่าระยะยาว 5 ปี แก่นักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มูลค่าตั้งแต่ 500,000 ยูโร หรือประมาณ 20 ล้านบาท หรือผู้ที่ลงทุนทำธุรกิจในโปรตุเกสมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านยูโรเป็นต้นไป หรือผู้ที่สร้างงานในประเทศอย่างน้อย 10 ตำแหน่ง
แปด โปรตุเกสเริ่มสนใจแสวงหาตลาดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นโอกาสที่จะดึงให้ภาคเอกชนของโปรตุเกสหันมาสนใจไทยในฐานะฮับของอาเซียน
เก้า ธุรกิจศักยภาพในโปรตุเกสคือธุรกิจที่ไทยมีจุดแข็ง ที่โดดเด่นคือ ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ดังที่กล่าวมาแล้ว อุตสาหกรรมสำคัญอื่น ๆ ของโปรตุเกส ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้า ยานยนต์ ICT พลังงานทดแทน พลังงานชีวมวล กระดาษ เคมีภัณฑ์ ไวน์ และอุตสาหกรรมพลาสติก
สิบ การประชุม Political Dialogue ไทย-โปรตุเกส ครั้งที่ 2 ที่กำลังจะมาถึงขึ้น เป็นโอกาสที่จะสำรวจพื้นที่จริง และผลักดันความสนใจทางธุรกิจของฝ่ายไทยกับฝ่ายโปรตุเกสอย่างจริงจัง
นักธุรกิจท่านใดสนใจจะร่วมเดินทางใช้จังหวะดี ๆ ในต้นเดือน ก.ค.นี้ไปสำรวจตลาดโปรตุเกส พร้อม ๆ กับกระทรวงการต่างประเทศและผู้แทนภาครัฐ สามารถติดต่อคุณอติภา วรรธนะพงษ์ กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ที่โทร 0 2203 5000 ต่อ 13189 อีเมล europe0503@gmail.com เพื่อหารือในรายละเอียดและร่วมเดินทางไปด้วยกัน
สอง ขนาดตลาดและอำนาจผู้บริโภค โปรตุเกสมีประชากรประมาณ 10 ล้านคน GDP ประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ประชาชนมีรายได้ต่อปีถึง 27,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเกือบล้านบาท นับว่า ประชาชนมีเงินในกระเป๋า หากเศรษฐกิจเข้าที สินค้าดีน่าสนใจ ก็พร้อมจ่าย
สาม อีกหนึ่งประตูสู่อียูและประเทศที่พูดโปรตุเกส นอกจากจะชูตนเองเป็นประตูสู่ประชากรอียูกว่า 500 ล้านคนแล้ว โปรตุเกสยังโฆษณาว่าเป็นประเทศยุโรปที่ใกล้สหรัฐอเมริกาและแคนาดามากที่สุดโดยทางเรือ อยู่ในลำดับที่ 15 ของโลกในด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคม และเข้าถึงประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกสที่มีประชากรกว่า 250 ล้านคน ซึ่งรวมถึงบราซิล โมซัมบิก แองโกลา
สี่ เศรษฐกิจยังไม่ซบเซาหนักเมื่อเทียบกับหลายประเทศในยุโรป โปรตุเกสมีแนวโน้มเติบโตขึ้น เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในกลุ่มยูโรโซน ในปี 2560 คาดว่าจะเติบโต 1% ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย การใช้นโยบายการคลังที่ไม่รัดเข็มขัดจนเกินไปช่วยกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐและเอกชน รวมถึงการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่นิยมไปพักผ่อนตามเมืองตากอากาศทั่วโปรตุเกส เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติไปเที่ยวโปรตุเกสทะลุ 10 ล้านคนเป็นครั้งแรก ส่งผลให้โรงแรมในโปรตุเกสมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 13% แรงงานโปรตุเกสก็มีการศึกษาและมีทักษะ ขณะที่มีค่าแรงต่ำ
ห้า อสังหาริมทรัพย์ในโปรตุเกสกำลังมีราคาถูก ภาวะเศรษฐกิจยุโรปซบเซาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของโปรตุเกสได้รับผลกระทบอย่างหนัก ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลงมากจนจัดได้ว่าถูกที่สุดในยุโรป ทั้งราคาบ้านพร้อมที่ดินและราคาพื้นที่ต่อตารางเมตร อย่างเช่น บ้านที่ราคาแพงที่สุดอยู่ที่เมือง Algarve เมืองท่องเที่ยวสำคัญทางตอนใต้ใกล้กับสเปน ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 1,287 ยูโร ต่อตารางเมตร หรือประมาณ 50,000 กว่าบาท/ตารางเมตร ส่วนที่กรุงลิสบอน ราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตร เท่ากับ 1,047 ยูโร หรือ 40,000 กว่าบาทเท่านั้น เทียบกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ นับว่าถูกมาก หากมีโอกาสและสนใจมีที่พักตากอากาศในโปรตุเกส ก็ควรรีบไปจับจอง
หก มีตัวอย่างธุรกิจไทยที่เข้าไปบุกโปรตุเกสแล้ว กลุ่มไทยยูเนียนได้เข้าไปทำธุรกิจผลิตปลากระป๋อง และกลุ่มไมเนอร์ ได้ซื้อกิจการโรงแรมกลุ่ม Trivoli ถึง 12 แห่งในโปรตุเกส
เจ็ด รัฐบาลโปรตุเกสชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ มีหน่วยงานเทียบเท่า BOI ของบ้านเราที่เรียกว่า AICEP คอยส่งเสริมการลงทุน และโปรตุเกสได้นำมาตรการ Golden Visa กลับมาใช้อีกครั้ง โดยจะออกวีซ่าระยะยาว 5 ปี แก่นักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มูลค่าตั้งแต่ 500,000 ยูโร หรือประมาณ 20 ล้านบาท หรือผู้ที่ลงทุนทำธุรกิจในโปรตุเกสมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านยูโรเป็นต้นไป หรือผู้ที่สร้างงานในประเทศอย่างน้อย 10 ตำแหน่ง
แปด โปรตุเกสเริ่มสนใจแสวงหาตลาดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นโอกาสที่จะดึงให้ภาคเอกชนของโปรตุเกสหันมาสนใจไทยในฐานะฮับของอาเซียน
เก้า ธุรกิจศักยภาพในโปรตุเกสคือธุรกิจที่ไทยมีจุดแข็ง ที่โดดเด่นคือ ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ดังที่กล่าวมาแล้ว อุตสาหกรรมสำคัญอื่น ๆ ของโปรตุเกส ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้า ยานยนต์ ICT พลังงานทดแทน พลังงานชีวมวล กระดาษ เคมีภัณฑ์ ไวน์ และอุตสาหกรรมพลาสติก
สิบ การประชุม Political Dialogue ไทย-โปรตุเกส ครั้งที่ 2 ที่กำลังจะมาถึงขึ้น เป็นโอกาสที่จะสำรวจพื้นที่จริง และผลักดันความสนใจทางธุรกิจของฝ่ายไทยกับฝ่ายโปรตุเกสอย่างจริงจัง
นักธุรกิจท่านใดสนใจจะร่วมเดินทางใช้จังหวะดี ๆ ในต้นเดือน ก.ค.นี้ไปสำรวจตลาดโปรตุเกส พร้อม ๆ กับกระทรวงการต่างประเทศและผู้แทนภาครัฐ สามารถติดต่อคุณอติภา วรรธนะพงษ์ กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ที่โทร 0 2203 5000 ต่อ 13189 อีเมล europe0503@gmail.com เพื่อหารือในรายละเอียดและร่วมเดินทางไปด้วยกัน
4 กรกฎาคม 2559
โดย:
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ (ThaiBiz)
ประเภทข่าว
แหล่งข้อมูลข่าวเศรษฐกิจ
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแคนาดา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในชิลี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเม็กซิโก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในออสเตรเลีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเมียนมาร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในบราซิล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเดนมาร์ก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอียิปต์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮังการี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในนอร์เวย์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในปากีสถาน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในศรีลังกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิหร่าน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเกาหลีใต้
- ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฟิลิปปินส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาเลเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในญี่ปุ่น
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในไต้หวัน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในยุโรป
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแอฟริกาใต้
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเซเนกัล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเนปาล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาดากัสการ์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในคูเวต
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิสราเอล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาเซียน