
ด้วยความโดดเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ของประเทศเซเนกัลที่ตั้งอยู่ปลายสุดตะวันตกของทวีปแอฟริกา ส่งผลให้ท่าเรือน้ำลึกกรุงดาการ์ (Port Autonome de Dakar) ประเทศเซเนกัล สามารถเป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าไปยังทวีปต่าง ๆ อาทิ ยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ รวมถึงการขนส่งไปยังภายในทวีปแอฟริกาตะวันตก โดยท่าเรือน้ำลึกกรุงดาการ์มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 177 เฮกตาร์ (1,770,000 ตร.ม.) ประกอบด้วยท่าเทียบเรือน้ำลึกกว่า 10 ท่า เป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร และมีศักยภาพที่สามารถรองรับ การให้บริการเทียบเรือสินค้าขนาดใหญ่ได้ตลอดทั้งปี
ตั้งแต่ปี 1867 ท่าเรือน้ำลึกกรุงดาการ์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินกิจการด้านการขนส่งทางทะเลเรื่อยมาเป็นลำดับ ในปี 1904 บริษัท Jammy – Galtier ของฝรั่งเศสได้ก่อสร้างท่าเทียบเรือแห่งแรกขึ้นในบริเวณดังกล่าว และฝรั่งเศสได้ใช้ท่าเรือดังกล่าวเป็นที่พักสินค้าระหว่างการขนส่งสินค้าจาก ฝรั่งเศสไปยังทวีปอเมริกาใต้ (บราซิล) โดยในปัจจุบันท่าเรือน้ำลึกกรุงดาการ์ประกอบด้วยท่าเทียบเรือและสิ่งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ อาทิ ท่าสำหรับบรรทุก - ขนถ่ายสินค้าทั่วไป ท่าเรือนำเข้าสินค้าประเภท RO-RO และเรือบรรทุกรถยนต์จากประเทศต่าง ๆ อาทิ ยุโรป สหรัฐฯ เพื่อการส่งออก (re-export) ไปยังประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ศูนย์การขนส่งสินค้าไปยังประเทศในทวีปแอฟริกาตะวันตกที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อาทิ มาลี บูร์กินาฟาโซ และไนเจอร์ ผ่านระบบรางและการขนส่งทางบก ท่าเทียบเรือสำหรับสินค้าเกษตร โดยเฉพาะถั่วลิสง ซึ่งในปัจจุบันได้ปรับเพิ่มให้เป็นท่าเรือสำหรับการนำเข้าข้าวและแป้งจาก ต่างประเทศโดยมีโรงเก็บที่ทันสมัยในบริเวณใกล้เคียง ท่าเทียบเรือขนาดเล็กใช้ในการขนส่งฟอสเฟต ท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าทั่วไป รวมถึงเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ท่าเทียบเรือเพื่ออุตสาหกรรมการประมงครบวงจร ท่าเทียบเรือสำราญ ศูนย์ซ่อมเรือขนาดใหญ่ และอู่ซ่อมเรือบนบก ท่าเทียบเรือบรรทุกน้ำมันและโกดังสินค้า
ในปี 2013 มีสินค้าขนส่งมายังท่าเรือน้ำลึกกรุงดาการ์จำนวนกว่า 3 ล้านตัน ได้แก่
- สินค้าอุปโภคประเภท non-denominated จำนวน 1.2 ล้านตัน ซึ่งประกอบด้วยสินค้าที่หลากหลาย แต่มีอัตราการนำเข้าที่ลดลง
- สินค้าเพื่อการบริโภค อาทิ ข้าว แป้ง น้ำตาล และสินค้าเกษตรแปรรูปอื่น ๆ จำนวน 8.9 แสนตัน โดยมีแนวโน้มการนำเข้าปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 19.9
- เหล็กกล้า มีการนำเข้าจำนวน 3 แสนตัน
- เคมีภัณฑ์ มีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 โดยนำเข้าประมาณ 2.9 แสนตัน
- วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างจำนวน 1.9 แสนตัน
- เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจำนวน 8.7 หมื่นตัน
- เมล็ดพันธุ์ทางการเกษตร มีอัตรานำเข้าสูงที่สุด คือ ร้อยละ 454.7 โดยนำเข้าจำนวน 1,800 ตัน ทั้งนี้ ท่าเรือน้ำลึกกรุงดาการ์มีระยะห่างจากท่าเรือกรุงเทพฯ ประมาณ 1 หมื่นไมล์ทะเล ใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าประมาณ 43 วัน
ท่าเรือน้ำลึกกรุงดาการ์ได้พัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพงานบริการของท่าเทียบ เรือต่าง ๆ นอกจากนี้ ได้นำระบบการบริหารจัดการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อความคล่องตัวใน การดำเนินงานและรองรับการขยายธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคต ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ มีการบริหารงานโดย Board of Director ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคมลูกจ้างเป็นคณะกรรมการ อาทิ กระทรวงเศรษฐกิจพาณิชนาวี กระทรวงเศรษฐกิจการคลัง สมาคมลูกจ้างการท่า และสภาหอการค้าและอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและ เศรษฐกิจ การค้าของประเทศ และเป็นประตูการค้าสู่แอฟริกาตะวันตก อเมริกา และยุโรปต่อไป
อ้างอิง : www.portdakar.sn
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ประเภทข่าว
แหล่งข้อมูลข่าวเศรษฐกิจ
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแคนาดา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในชิลี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเม็กซิโก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในออสเตรเลีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเมียนมาร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในบราซิล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเดนมาร์ก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอียิปต์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮังการี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในนอร์เวย์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในปากีสถาน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในศรีลังกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิหร่าน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเกาหลีใต้
- ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฟิลิปปินส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาเลเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในญี่ปุ่น
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในไต้หวัน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในยุโรป
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแอฟริกาใต้
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเซเนกัล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเนปาล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาดากัสการ์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในคูเวต
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิสราเอล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาเซียน