เรียนรู้กลยุทธ์ทางการตลาดของข้าวพันธุ์เจอฟ่างก้งหมี่ของจีน

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง จึงได้สรุปแนวคิดและรูปแบบการตลาดที่น่าสนใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวพันธุ์พิเศษของจีน โดยเฉพาะความพิเศษของตลาดข้าวประเภทดังกล่าว ที่มี Story ของตัวเอง และยังมีตลาดและผู้บริโภคระดับ High-end ที่สนใจข้าวเจอฟ่างก้งหมี่จึงมีอยู่มาก แม้ว่าปริมาณที่ผลิตได้มีจำนวนน้อย แต่ด้วยชื่อเสียงที่โดดเด่น ทำให้มีความต้องการในตลาดมาก แม้ราคาจะเพิ่มสูงก็ยังขายได้ โดยสามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ 1,000 หยวน หรือ 5,000 บาท ทำให้การเกษตรกรในพื้นที่เน้นคุณภาพข้าวที่ได้มากกว่าปริมาณการผลิต นอกจากนี้ ยังสามารถทำบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม โดยเมล็ดข้าวจะถูกบรรจุในโถเซรามิคทรงเมล็ดข้าว โถละครึ่งกิโลกรัม ใส่กล่องไม้แกะสลักอย่างดีที่เน้นสีเหลืองและแดง โดยสีเหลือง สื่อความหมายถึง ฉลองพระองค์ของฮ่องเต้ในสมัยโบราณ และสีแดง เป็นสีมงคลตามความเชื่อของชาวจีน ภายในกล่องและตัวโถมีการบอกเล่าเรื่องราวของข้าวด้วยอักษรภาษาจีน และมีใบรับประกันคุณภาพบรรจุอยู่ในกล่องด้วย
นอกจากการส่งข้าวชนิดนี้ไปเป็นเครื่องบรรณาการให้ฮ่องเต้ที่เมืองหลวง และเป็นข้าวที่ใช้ทำพิธีบูชาฟ้าดินและเทพเจ้าตามประเพณีจีนแล้ว ข้าวเจอฟ่างก้งหมี่ยังมีลักษณะพิเศษโดยมีรูปร่างคล้ายเมล็ดแตงโม สีขาวนวลดังหยก เมื่อหุงสุกจะมีความหอมนุ่ม น่ารับประทาน มีความนุ่มพอดีเหมือนข้าวสวยและเมื่อปล่อยให้เย็นก็ไม่แข็งกระด้าง ข้าวเจอฟ่างก้งหมี่ แบ่งออกเป็น 2 เกรด คือ เกรด A เรียกว่า “หาวพี” ซึ่งมีไว้สำหรับฮ่องเต้เท่านั้น และเกรด B เรียกว่า “หาวก้ง” สำหรับขุนนางและคนในพระราชวัง ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปหรือเศรษฐี ที่มีเงินแม้อยากรับประทานก็ซื้อหากันไม่ได้ ข้าวเจอฟ่างก้งหมี่ เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปี พ.ศ. 2499 เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ได้เดินทางมาเยี่ยมพื้นที่และได้มีโอกาสชิมข้าวชนิดนี้ ทำให้รัฐบาลจีนรับซื้อข้าวเจอฟ่างก้งหมี่เพื่อใช้ในโอกาสพิเศษในการรับรองแขกจากต่างประเทศ
ก่อนหน้านี้ แม้ว่าข้าวเจอฟ่างก้งหมี่เคยหายสาบสูญไปในช่วงหลังปี พ.ศ. 2499 เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการสนับสนุนของรัฐบาล แต่ในปี พ.ศ. 2551 ก็ได้มีการนำเมล็ดพันธุ์จากคลังของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลยูนนานมาฟื้นฟูและปลูกใหม่ โดยใช้เวลากว่า 4 ปี ในการฟื้นฟูความพิเศษให้กลับมาดังเดิม และยังเป็นของฝากที่มีชื่อเสียงของเขตปกครองตนเองชนชาติไทลื้อและจิ่งโพเต๋อหง มณฑลยูนนาน
สิ่งที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เห็นว่า น่าจะมีประโยชน์แก่ผู้ประกอบการข้าวของไทย คือ การนำกลยุทธ์การตลาดโดยใช้หลักจิตวิทยาการตลาด การกำหนดราคา และการสร้างจุดขายการเป็นสินค้าพรีเมี่ยมคุณภาพดี โดยใช้ความโดดเด่นของเรื่องราวของข้าวมาเป็นจุดขายสำคัญเพื่อสร้างมูลค่าให้กับข้าว พร้อมทั้งการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมด้วยการชูประเด็นว่า อดีตผู้นำจีนก็เคยรับประทานข้าวชนิดนี้ และทางการจีนใช้ข้าวชนิดนี้ในการเลี้ยงรับรองและมอบเป็นของที่ระลึกสำหรับแขกทางการ ประกอบกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หรูหรา และการผลิตที่เน้นคุณภาพ จึงทำให้สินค้าพื้นเมืองอย่างข้าวเจอฟ่างก้งหมี่กลายเป็นสินค้าlimited edition ที่ทำการตลาดแบบปากต่อปาก กลายเป็นสินค้าสอดคล้องกับค่านิยมของชาวจีนที่นิยมมอบของขวัญที่ดูดีมีราคา สามารถวางจำหน่ายทั้งแก่ผู้บริโภคภายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างถิ่น
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ประเภทข่าว
แหล่งข้อมูลข่าวเศรษฐกิจ
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแคนาดา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในชิลี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเม็กซิโก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในออสเตรเลีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเมียนมาร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในบราซิล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเดนมาร์ก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอียิปต์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮังการี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในนอร์เวย์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในปากีสถาน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในศรีลังกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิหร่าน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเกาหลีใต้
- ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฟิลิปปินส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาเลเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในญี่ปุ่น
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในไต้หวัน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในยุโรป
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแอฟริกาใต้
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเซเนกัล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเนปาล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาดากัสการ์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในคูเวต
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิสราเอล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาเซียน