
การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ของบราซิลมีแนวโน้มจะติดลบ ท่ามกลางความวิตกว่าความตึงเครียดทางการเมืองและค่าเงินเรียลที่ย่ำแย่ในปัจจุบัน จะยิ่งกดดันให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีก
ดิอีโคโนมิสต์ ระบุว่า ในวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกของนางดิลมา รุสเซฟฟ์ ช่วงปี 2554-2557 เศรษฐกิจบราซิลเติบโตเฉลี่ยเพียง 1.2% ต่อปี ต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน และต่ำสุดในกลุ่ม "BRICS" หรือ 5 ประเทศตลาดเกิดใหม่ชั้นนำ ที่ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้

ปี 2557 เคยเป็นปีที่ชาวบราซิลเฝ้ารอ เพราะได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพมหกรรมฟุตบอลโลก แต่ฉากจบกลับไม่สวยหรูอย่างที่หวัง ไม่เพียงทีมแซมบ้าพลาดถ้วยแชมป์ในบ้านตัวเอง แต่ยังสิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาลไปกับทัวร์นาเมนต์นี้ โดยได้รับประโยชน์ไม่คุ้มเสีย พร้อมกับข่าวฉาวเรื่องคอร์รัปชั่นในการก่อสร้างสนามกีฬา
การผลาญเงินไปกับฟุตบอลโลกยังส่งผลให้งบประมาณปีที่แล้ว ขาดดุลเพิ่มขึ้น2 เท่า เป็น 6.75% ของจีดีพี และเป็นครั้งแรกนับจากปี 2540 ที่รัฐบาลบราซิลไม่มีเงินพอชำระหนี้
หนี้สาธารณะของบราซิลในปีที่แล้วอยู่ที่ราว 63% ของจีดีพี แม้จะดูไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับหนี้สิน 175% ต่อจีดีพีของกรีซ และ 227% ของญี่ปุ่น แต่เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในบราซิลสูงถึง 12% ทำให้รัฐบาลต้องแบกภาระหนักในการหาเงินมาจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย ประกอบกับขณะนี้เงินเรียลอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยเพิ่งทำสถิติอ่อนค่าต่ำสุดในรอบ 10 ปีเศษเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทำให้หนี้สินที่กู้ยืมมาจากนอกประเทศพุ่งกระฉูด
การอ่อนค่าของเงินเรียลซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อ เดือนที่แล้วตัวเลขเงินเฟ้อสูงขึ้น 7.36% ขณะที่เป้าหมายของธนาคารกลางบราซิลอยู่ที่ 4.5% ทำให้ธนาคารกลางตัดสินใจเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 12.75% ซึ่งสูงสุดในรอบ 6 ปี แต่นักเศรษฐศาสตร์มองว่า ไม่เพียงเป็นการเคลื่อนไหวที่ช้าเกินการณ์ แต่ยังเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เงินขาดมือด้วย
หลายปีที่ผ่านมา ภาคครัวเรือนเป็นเซ็กเตอร์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบราซิล อัตราการว่างงานที่ต่ำผลักดันให้ค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายได้ที่สูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคบราซิลกู้ยืมได้มากขึ้นตาม ซึ่งช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงเดินหน้าต่อไปได้ แม้โครงสร้างพื้นฐานด้อยคุณภาพ และภาคอุตสาหกรรมขาดความสามารถในการแข่งขัน
แต่ปัจจุบันภาคครัวเรือนไม่สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อีกต่อไป เพราะไม่มีการปรับเพิ่มค่าแรง เนื่องจากผลิตภาพแรงงานคงที่ ขณะที่อัตราคนไม่มีงานทำเพิ่มเป็น 5.4% ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา นายจ้างจึงไม่จำเป็นต้องใช้ค่าแรงที่สูงเป็นสิ่งจูงใจแรงงานอีกแล้ว
นอกจากปัญหาเศรษฐกิจแล้ว ความตึงเครียดทางการเมืองยังเป็นอีกปัญหาที่รุมเร้าบราซิล โดยเฉพาะ การสอบสวนการทุจริตใน "ปีโตรบราส" รัฐวิสาหกิจน้ำมันยักษ์ใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีนักการเมืองเข้าไปพัวพันหลายคน รวมถึงบุคคลใกล้ชิดของนางรุสเซฟฟ์ บวกกับกำไรที่หายไปจากราคาน้ำมันที่ลดลง ล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจบราซิลไม่น้อย
ยิ่งไปกว่านั้น เริ่มเห็นเค้าลางความขัดแย้งระหว่างนางรุสเซฟฟ์ กับนายโจอาคิม เลวี หัวหน้าทีมเศรษฐกิจและรัฐมนตรีคลัง ที่อาจทำให้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจมีอันต้องสะดุด รวมถึงความฝันที่จะขยายตัวรวดเร็วเทียบชั้นจีนยิ่งห่างไกลออกไป
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425801410
ประเภทข่าว
แหล่งข้อมูลข่าวเศรษฐกิจ
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแคนาดา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในชิลี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเม็กซิโก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในออสเตรเลีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเมียนมาร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในบราซิล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเดนมาร์ก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอียิปต์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮังการี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในนอร์เวย์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในปากีสถาน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในศรีลังกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิหร่าน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเกาหลีใต้
- ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฟิลิปปินส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาเลเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในญี่ปุ่น
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในไต้หวัน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในยุโรป
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแอฟริกาใต้
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเซเนกัล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเนปาล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาดากัสการ์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในคูเวต
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิสราเอล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาเซียน