
นับตั้งแต่กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี 2542 และองค์การการค้าโลกในปี 2547 บรรยากาศการลงทุนในกัมพูชาก็พัฒนาขึ้นตามลำดับ กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติได้เป็นอย่างดี ภายใต้กระแสการค้าโลกในยุคโลกาภิวัตน์ที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ในงานสัมมนาเรื่อง "การเสริมสร้างและการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจกัมพูชา" ณ โรงแรมเซ็นทารา กรุงเทพฯ ได้รับเกียรติจาก ดร.ศก สีพนา ที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีกัมพูชา มาบรรยายหัวข้อ "ศักยภาพทางการค้าและการลงทุนในกัมพูชา"
ดร.ศก กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงรุกของกัมพูชาที่ส่งผลในทางบวกต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 โดยมองว่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยสิ่งสำคัญในการพัฒนาอาเซียนร่วมกันประกอบด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ 1) การเป็นตลาดร่วมและฐานผลิตเดียว 2) การแข่งขันทางเศรษฐกิจในภูมิภาค 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน และ 4) การรวมเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจโลก
นอกจากนี้ กัมพูชายังเปิดโอกาสอย่างมากสำหรับนักธุรกิจต่างชาติ ซึ่งรัฐบาลได้สร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน โดยกำหนดมาตรการลดต้นทุนให้แก่ภาคธุรกิจทั้งที่เป็นการลงทุนเพิ่ม การขยายตลาด การลดต้นทุนการขนส่ง รวมไปถึงการปรับปรุงระบบความปลอดภัยภายในประเทศด้วย
ดร.ศก สีพนา ที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีกัมพูชา
ดร.ศก กล่าวเพิ่มว่า รัฐบาลกัมพูชาได้พัฒนากรอบกฎหมายสำหรับภาคเอกชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับ "เวทีระหว่างภาครัฐกับเอกชน" เพื่อเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและเป็นกลไกระงับข้อพิพาทต่างๆ ได้มีการลดข้อกำหนดที่เกี่ยวกับเอกสารเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะระบบการใช้เอกสารในด้านการบริหารแบบเดียวกัน (Single Administrative Document : SAD) และระบบบริการแบบหน้าต่างเดี่ยว (Single Window) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต่างๆ เช่น นำเข้า-ส่งออก
การสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุน เป็นหนึ่งนโยบายส่งเสริมการค้าของกัมพูชา เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร และภาคการผลิต ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมประกอบอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักร นอกเหนือจากนี้ รัฐบาลได้พัฒนากฎหมายสำหรับการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนเพื่อการลงทุน โดยเฉพาะในโครงการสาธารณูปโภค ขณะที่ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นางศิริพร นุรักษ์ ผู้อำนวยการระดับสูง มองว่า โอกาสการค้า-การลงทุน และการบริการด้านโลจิสติกส์ที่ดี จะส่งผลบวกในเรื่องการท่องเที่ยวในกัมพูชา รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วย
ปัจจุบันศักยภาพและโอกาสลงทุนในกัมพูชาเอื้อประโยชน์ต่อต่างประเทศได้มาก เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สัดส่วนประชากรในวัยทำงานสูง ค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ รัฐบาลอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ในเกือบทุกประเภทกิจการ สิทธิประโยชน์ทางการค้า และการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ
การลงทุนที่รัฐบาลกัมพูชาให้การส่งเสริมอย่างมาก ได้แก่ เกษตรกรรมและอุตฯการเกษตร ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและคมนาคม พลังงานและไฟฟ้า อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักและอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งอออก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และเหมืองแร่
"แม้สถานการณ์ในกัมพูชาจะยังมีอุปสรรคที่ฉุดการเติบโตบ้าง เช่น สภาวะการเมือง ระบบราชการ ปัญหาด้านทักษะแรงงาน รวมถึงความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน แต่การเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติถือเป็นโอกาสที่ดีในการร่วมกันพัฒนาชาติสมาชิกอาเซียนที่จะรวมกลุ่มกันในปลายปีหน้านี้" นางศิริพรกล่าว
มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกัมพูชา ที่ผ่านมาเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2550 มูลค่าการลงทุนในกัมพูชาอยู่ที่ 577 ล้านดอลลาร์ กระทั่งปี 2556 เพิ่มเป็น 1,396 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการบีโอไอมองว่า ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมและความชำนาญในธุรกิจบริการท่องเที่ยว ทั้งยังมีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ บวกกับกัมพูชามีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวต่างชาติ
อย่างไรก็ดี แม้ว่ากัมพูชาจะมีข้อได้เปรียบทั้งค่าแรงถูก และการได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า แต่การทำธุรกิจในกัมพูชายังมีอุปสรรคที่สำคัญ คือการเริ่มต้นธุรกิจในกัมพูชานั้นต้องใช้เวลานานถึง 85 วัน และมีขั้นตอนมากมาย โครงสร้างพื้นฐานในกัมพูชาก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
แต่หากไทยจะปล่อยโอกาสทองให้หลุดลอยไป ก็คงเป็นเรื่องผิดมหันต์ ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องพิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้อย่างถี่ถ้วน รวมถึงต้นทุนแอบแฝงในการทำธุรกิจด้วย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1417078867
ประเภทข่าว
แหล่งข้อมูลข่าวเศรษฐกิจ
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแคนาดา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในชิลี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเม็กซิโก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในออสเตรเลีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเมียนมาร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในบราซิล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเดนมาร์ก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอียิปต์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮังการี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในนอร์เวย์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในปากีสถาน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในศรีลังกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิหร่าน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเกาหลีใต้
- ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฟิลิปปินส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาเลเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในญี่ปุ่น
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในไต้หวัน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในยุโรป
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแอฟริกาใต้
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเซเนกัล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเนปาล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาดากัสการ์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในคูเวต
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิสราเอล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาเซียน