
ภาพรวมเศรษฐกิจเนปาล
ธนาคารกลางเนปาลได้รายงานภาวะเศรษฐกิจเนปาลสถานะเดือน มิ.ย. 57 ของปีงบประมาณ เนปาล ค.ศ. 2013-2014
- GDP อยู่ที่ร้อยละ 4.5 (ประมาณการโดย ADB และ WB ในขณะที่ รบ. ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 5.15)
- อัตราเฟ้ออยู่ที่ร้อยอยู่ที่ร้อยละ 9.7
- ดุลบัญชีการชำระเงินอยู่ที่ 115.26 พันล้านรูปีเนปาล
- เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 653.09 พันล้านรูปีเนปาล
จากรายงาน World Economic Forum (WEF) 2014 ซึ่งได้จัดทำสถิติดัชนีการค้าของประเทศต่างๆ ทั่วโลกทุก 2 ปี พบว่าเนปาลเป็นประเทศที่มีอุปสรรคด้านการค้ากับต่างประเทศมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ อันมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านนโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาการขนส่งสินค้าผ่านชายแดน และปัญหาคอร์รัปชัน โดยถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 116 จาก 138 ประเทศ (ในปี ค.ศ. 2012 อยู่ที่ลำดับที่ 124) อนึ่ง ในเอเชียใต้ ศรีลังกาถูกจัดให้อยู่ในลำดับสูงสุด (84) รองลงมาคืออินเดีย (96) ภูฏาน (107) ปากีสถาน (114) บังกลาเทศ (115) ตามลำดับ
ในปีงบประมาณปัจจุบันรายได้ประชาชาติต่อหัว (GDP per capita) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.77 หรือ เท่ากับ 71,305 รูปีเนปาล/คน (เทียบกับปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 62,677 รูปีเนปาล/คน)
เนปาลถูกถอดจากรายชื่อ watch list ขององค์กร Financial Action Task Force (FATF) ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมดูแลการฟอกเงินและการก่อการร้ายทางการเงิน (terror financing) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือทางการเงินของประเทศ ความร่วมมือระหว่างสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศ และดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ
การท่องเที่ยวเนปาล
สถิติการท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเนปาลในเดือน มิ.ย. 57 ลดลงร้อยละ 0.30 หรือ 41,137 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งตามภูมิภาค ดังนี้
- ภูมิภาคเอเชียใต้ จำนวนนักท่องเที่ยวอินเดียลดลงร้อยละ 2.21 กากีสถานร้อยละ 5.54 ศรีลังการ้อยละ 28.97 ในขณะที่บังกลาเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.43
- ภูมิภาคเอเชีย นักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 สิงคโปร์ร้อยละ 12.56 ไทยร้อยละ 5.79 ในขณะที่ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและมาเลเซียจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง (ร้อยละ 13,3.18 และ 1.98 ตามลำดับ)
- ภูมิภาคยุโรป จำนวนนักท่องเที่ยวจาก สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและเยอรมนีลดลง (ร้อยละ 10.24, 3.50, 24.64, 13.90, 16.25 และ 17.85) ในขณะที่ ออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก และโปรแลนด์เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 71.05, 6.67 และ 12.77)
ภูมิภาคอเมริกาและโอเชียเนีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.69, 37.65, 5.68) ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจากแคนาดาลดลงร้อยละ 15.76
รัฐบาลเนปาลอนุญาตให้นักปีนเขาเดินทางไปพิชิตยอกเขาใหม่ 104 แห่งรวมทั้งยอดเขาที่มีความสูงต่ำกว่า 5,800 เมตรโดยไม่ต้องขออนุญาตจากทางการเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการปีนเขาและกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยปัจจุบัน รัฐบาลได้อนุญาตให้ทำการปีนเขาได้ทั้งหมด 414 แห่ง
*** สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่ "มุมสมาชิก"
แหล่งข้อมูลภาพ : http://th.wikipedia.org
ประเภทข่าว
แหล่งข้อมูลข่าวเศรษฐกิจ
- กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแคนาดา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในชิลี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเม็กซิโก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในออสเตรเลีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเมียนมาร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในบราซิล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเดนมาร์ก
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอียิปต์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮังการี
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในนอร์เวย์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในปากีสถาน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในศรีลังกา
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิหร่าน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเกาหลีใต้
- ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฟิลิปปินส์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาเลเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในลาว
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในญี่ปุ่น
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในไต้หวัน
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเวียดนาม
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในยุโรป
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในแอฟริกาใต้
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเซเนกัล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเนปาล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในมาดากัสการ์
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในคูเวต
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอิสราเอล
- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในอาเซียน